นิติกรรม

นิติกรรม
การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์
5 ประการ
1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดงเจตนา
2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับสิทธิ

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
1. ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม
2. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
3. แบบของนิติกรรม
4. การแสดงเจตนาของนิติกรรม

โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
โมฆะกรรมคือ นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ใช้บังคับไม่ได้ ไม่เกิดผลในทางกฎหมายและไม่ทำให้คู่กรณีมีความผูกพันกันตามกฎหมาย
โมฆียะกรรมคือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลผูกพันกันได้ตามกฎหมาย แต่ก็อาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง ซึ่งจะทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะมาแต่วันเริ่มแรกทำนิติกรรม แต่ถ้าไม่มีการบอกล้างจนล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือถ้ามีการรับรองคือมีการให้สัตยาบันรับรู้หรือรับรองนิติกรรมนั้น ก็จะทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกและใช้ได้ตลอดไป จะมาบอกล้างกันอีกต่อไปไม่ได

กลับไปหน้ากฎหมาย

 

หน้าหลัก บทเรียน ประวัติ เพื่อน